1.มนุษย์หุ่นยนต์แห่งการขับเคลื่อนในอนาคต
เทคโนโลยีใหม่ที่เกิดขึ้นและเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทำให้มนุษย์ไม่หยุดที่จะคิดค้นสิ่งประดิษฐ์ต่างๆ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต ปกปิดข้อเสีย/ข้อบกพร่องบางอย่าง หรือแม้แต่ต้องการที่จะก้าวข้ามขีดความสามารถของมนุษย์เพื่อปรับปรุงกระบวนการทำงานต่างๆ ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ดังตัวอย่างของสิ่งประดิษฐ์ต่อไปนี้ ที่อาจจะกลายเป็นส่วนจุดประกายที่สำคัญในวงการโลจิสติกส์ในอนาคตได้
ยามาฮ่า, บริษัทญี่ปุ่นผู้ผลิตสินค้าหลากหลายประเภทไม่ว่าจะเป็นเครื่องดนตรี เครื่องเสียง เครื่องจักร เช่น มอเตอร์ไซค์ และเครื่องยนต์เรือ ฯลฯ และถือหุ้นบางส่วนของโตโยต้า มอเตอร์, ยามาฮ่าคอร์ปอร์เรชั่น และยามาฮ่า มอเตอร์ และมีความร่วมมือในส่วนของการออกแบบวิจัยและพัฒนา และกิจกรรมการตลาดต่างๆ, ได้คิดค้นและประดิษฐ์ “MOTOBOT” มนุษย์หุ่นยนต์ที่สร้างขึ้นหลอมรวมกับรถจักรยานยนต์ยามาฮ่า ที่สามารถขับขี่อย่างอิสระได้ 120 ไมล์/ชั่วโมง วัตถุประสงค์ของการพัฒนา Motobot เพื่อเลียนแบบทุกกระบวนการทางกายภาพและชีวภาพของผู้ขับขี่จักรยานยนต์ (มนุษย์ธรรมดา) บนจักรยานยนต์แข่งระดับมาตรฐานสากล โดยหวังที่จะให้ Motobot เป็นต้นแบบของการสร้างความปลอดภัยขั้นสูงในการขับขี่ เพื่อรองรับการพัฒนาระบบขับเคลื่อนพลังงานแบบใหม่ที่จะเปิดตัวพร้อมกับรถจักรยานยนต์รุ่นใหม่ของยามาฮ่า รวมถึงใช้ know-how นี้ในการพัฒนา snowmobile เครื่องจักรกลในอุตสาหกรรม หรือแม้แต่รถ ATV ซึ่งเป็นการบุกเบิกธุรกิจใหม่ในอนาคตอีกด้วย
Motobot ถูกพัฒนาให้ขับขี่รถจักรยานยนต์ (แบบ 6 หัวฉีด) ที่ควบคุมรถฯให้ขับเคลื่อนในแบบที่นักขับจะทำ ไม่ว่าจะเป็นความสามารถบิดคันเร่ง ขยับพวงมาลัยซ้าย/ขวา และเหยียบคลัช/เบรคได้, ถึงแม้ปัจจุบันยังต้องใช้มนุษย์ในการเคลื่อนจากจุดเริ่มต้นก็ตาม Motobot ถูกควบคุมด้วยระบบการวิเคราะห์ข้อมูลจากเซนเซอร์ในตัวหุ่นยนต์และบนรถจักรยานยนต์ ข้อมูลต่างๆจะถูกบันทึกและประมวลผลอย่างแม่นยำทั้งอัตราเร่งความเร็ว การใช้พลังงานเชื้อเพลิง ตลอดจนสภาพการขับขี่บนท้องถนนของทางข้างหน้า ในอนาคต Motobot จะถูกพัฒนาไปอีกขั้นด้วยการติดตั้ง “ระบบปัญญาประดิษฐ์” เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ความซับซ้อนของลู่แข่งรถ (racetrack) และสามารถพัฒนาประสิทธิภาพการทำงานเสมือนนักแข่งที่เป็นมนุษย์จริงๆและมีความสามารถเหนือมนุษย์หุ่นยนต์ที่พัฒนาขึ้นก่อนหน้านี้ไปอีกก้าวหนึ่ง โดยหุ่นยนต์จะสามารถตัดสินใจได้เองในแต่ละการขับขี่ของบนลู่แข่งรถสภาพต่างๆ ซึ่งยามาฮ่ายังคงมุ่งเน้นทางด้านความปลอดภัยในการขับขี่เป็นหลัก แต่ถึงอย่างนั้นก็ตาม ยามาฮ่าได้สร้างความแปลกใหม่ในการทดสอบสิ่งประดิษฐ์นี้ด้วยการทำโปรโมชั่นการแข่งรถโดยเชิญ นักแข่งรถจักรยานยนต์มืออาชีพในตำนาน รุ่นโมโตจีพี แชมป์โลก 9 สมัยชาวอิตาลีอย่าง “วาเลนตีโน รอสซี” (Velentino Rossi) มาร่วมการแข่งขันเพื่อพิสูจน์ศักยภาพของ Motobot ในครั้งนี้ด้วย ภายใต้คำพูดของ Motobot ที่พูดกับวาเลนตีโนว่า
“I am MOTOBOT. I was created to surpass you. “I am improving my skills every day but I am not sure I could even beat the five-year-old you. Perhaps if I learn everything about you, I will be able to catch up.”
ยามาฮ่าได้คิดค้นและประดิษฐ์หุ่นยนต์มากว่า 30 ปี โดยหวังว่า Motobot เป็นโครงการที่ประยุกต์ใช้ Know-how ที่ผ่านมาในการประมวลผลระบบการคิดของหุ่นยนต์แบบใหม่ โดยที่ผ่านมาหุ่นยนต์จะถูกกำหนดให้ดำเนินการกับภารกิจเพียงอย่างใดอย่างหนึ่งที่เหนือกว่าสิ่งที่มนุษบย์สามารถทำได้ เช่น ใช้ในการประกอบชิ้นส่วนโลหะขนาดใหญ่สองชิ้นกับชุดของรอยเชื่อมได้แม่นยำภายในไม่กี่วินาที หรือทำแรงบิดของสลักเกลียวในระดดับต่างๆอย่างถูกต้องสมบูรณ์ เป็นต้น ในขณะที่ผู้ผลิตรถยนต์รายอื่น ต่างมุ่งมั่นที่จะสร้างรถยนต์ที่สามารถขับเคลื่อนได้แบบไร้คนขับ แต่ยามาฮ่ากลับมุ่งเน้นในการพัฒนา “มนุษย์หุ่นยนต์คนขับ” ที่สามารถใช้ได้กับรถจักรยานยนต์ธรรมดา(รถยนต์ในอนาคต) ที่ไม่ได้มีการปรับเปลี่ยนเครื่องยนต์ใดๆทั้งสิ้น หรือเรียกได้ว่าเป็น “Robotic Chauffeur” แห่งอนาคตนั่นเอง
ภายในสิ้นปีนี้ ยามาฮ่ามุ่งมั่นที่จะพัฒนาศักยภาพของ Motobot ให้สามารถโยกเลี้ยวหลบ (เหมือนการเล่นสกี) และขับขี่ทางตรงได้ 62 ไมล์/ชั่วโมง และในปี 2560 ยามาฮ่าจะพัฒนาให้ Motobot สามารถขับขี่ได้ด้วยความเร็วถึง/มากกว่า 124 ไมล์/ชั่วโมง ซึ่งจะพัฒนาให้ก้าวข้ามขีดความสามารถในการขับขี่ของมนุษย์ในอนาคตอีก โดยในปี 2020 โครงการนี้จะถูกนำไปต่อยอดในสินค้าของผู้บริโภคอื่นๆด้วย ถึงเวลานั้น คงต้องจับตาดูว่ายามาฮ่าจะสามารถต่อยอดปัญญาประดิษฐ์ต่างๆให้เป็นที่ฮือฮาในวงการได้หรือไม่ อย่างไร เราอาจจะได้เห็นคนขับรถบรรทุกที่เป็น “Robotic Chauffeur” ในไม่ช้านี้ก็เป็นได้
2.หุ่นยนต์เชื่อม
หนึ่งในหุ่นยนต์สำคัญในอุตสาหกรรมการผลิตของไทย เนื่องจากอุตสาหกรรมผลิตยานยนต์มีการใช้หุ่นยนต์ประเภทนี้สูง
โดยหุ่นยนต์เชื่อมจะมีลักษณะเป็นแขนหุ่นที่มีส่วนปลายเป็นหัวเชื่อมเหล็ก มักทำงานร่วมกับระบบสายพานที่คอยส่งวัสดุเข้ามาในระยะ แขนหุ่นจะทำการเชื่อมวัสดุตามจุดต่างๆ โดยอัตโนมัติตามที่มีการตั้งค่าไว้ ซึ่งสามารถทำได้แม่นยำมากกว่ามนุษย์
ตัวอย่างเช่น Fanuc ARC Welding Robot ที่มีการออกแบบมาเพื่อการเชื่อมไฟฟ้าโดยเฉพาะ ซึ่งสามารถรับน้ำหน้กได้ถึง 20 กก. และมีระยะเอื้อม 2 เมตร ใช้ได้ทั้งการเชื่อมไฟฟ้า เชื่อมเลเซอร์ บัดกรี หรืองานตัดประเภทต่างๆ
5.หุ่นยนต์ขึ้นรูปพลาสติก
หุ่นยนต์ขึ้นรูปพลาสติกมีหน้าที่ในการหยิบจับ ฉีดขึ้นรูปพลาสติกตามการใช้งาน ให้ออกมาเป็นผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปจำนวนมากได้ในระยะเวลาอันสั้น เช่น ท่อพลาสติก ชิ้นส่วนอุปกรณ์ ไปจนถึงภาชนะ จาน ชาม ช้อน ส้อม
นอกจากจะสามารถทำงานทุกอย่างได้แบบอัตโนมัติตั้งแต่ต้นจนจบกระบวนการแล้ว การใช้หุ่นยนต์เพื่อขึ้นรูปพลาสติกยังมีความแม่นยำและสามารถทำงานละเอียดอ่อนได้เหนือกว่ามนุษย์ปกติ ซึ่งการติดตั้งหุ่นยนต์ในอุตสาหกรรมนี้จะใช้พื้นที่น้อย และอยู่กับที่ เน้นด้านการใช้สายพานหรือแขนจับเพื่อส่งวัสดุเข้า-ออก มากกว่า